svasdssvasds

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนสิงหาคม ครึ่งปีแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนสิงหาคม ครึ่งปีแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเกิดอะไรขึ้นบ้าง สปริงนิวส์รวบรวมมาให้ เดือนสิงหาคม 2565 เกิดอะไรขึ้นบ้างรอบโลก ปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงขนาดไหน

เดินทางมาแล้วครึ่งปี ทั่วโลกเริ่มเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหนักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสภาพอากาศสุดขั้ว Extreme Weather ฝนตกหนัก น้ำท่วมหนักเป็นประวัติการณ์หรือจะเป็นคลื่นความร้อนรุนแรงจนแห้งแล้ง ทุบสถิติในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จนมีผู้คนล้มตายไปหลายหมื่นคน มันไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ แล้วนะ

ปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่ปัญหาที่เราควรชิน แต่ต้องเป็นการร่วมมือกันปรับแก้ให้มันทุเลาลงเร็วมากที่สุด ดังนั้น เพื่อเตือนใจเราทุกคนเรามาย้อนดุกันดีกว่าในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แค่เดือนเดียวนี้ เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนสิงหาคม ครึ่งปีแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง? คลื่นความร้อนโจมตีหลายประเทศ

ปัญหานี้ เห็นได้ชัดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส อิตาลี จีน อินเดียและอีกหลายประเทศ ประกาศเตือน อุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ รัฐแนะประชาชนระวังเป็นลมแดด น้ำในอ่างเก็บน้ำ ในเขื่อน เริ่มแห้งคอด สัตว์ล้มตาย พืชผลเสียหายหลายล้านไร่

อ่านเพิ่ม >>> ‘ญี่ปุ่น’ เผชิญอากาศร้อนระอุ อุณหภูมิพุ่ง 40 องศาเซลเซียส

หลายประเทศทั่วโลก ผจญ Global Warming ทั้ง "ไฟป่า" "อากาศร้อน" และ "ภัยแล้ง"

ประเทศจีนขยายเวลา เตือนภัย "อากาศร้อนจัด" ระดับสูงสุดในหลายพื้นที่

ยุโรปต้องเจอกับภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 500 ปี ผลพวง Climate Change

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมเกาหลีหนักสุดในรอบ 80 ปี

น้ำท่วมเกาหลีใต้หนัก เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา เพราะฝนตกอย่างหนักในรอบ 80 ปี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 7 ราย สูญหายอย่างน้อย 6 ราย

การที่ ฝนตกหนักนั้น  ทำให้สามารถวัดน้ำฝนได้กว่า 100 มม./ชม. โดยเฉพาะที่เขตดงจัก (Dongjak ) ของกรุงโซล ที่อยู่ติดกับแม่น้ำฮาน Han River  มีฝนตกถึง 141.5 มม. อยู่ช่วงหนึ่ง กลายเป็นฝนตกหนักสุดนับตั้งแต่ปี 1942

อ่านเพิ่ม >>> น้ำท่วมเกาหลีใต้ กรุงโซล ฝนตกหนักสุดรอบ 80 ปี สะท้อนภาวะโลกที่เปลี่ยนไป

น้ำท่วมเกาหลี อัปเดต โซลน้ำแห้งแล้ว เร่งเคลียร์พื้นที่ ผู้เสียชีวิต 8 ราย

ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ ละลายเร็วเป็นประวัติการณ์

สำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า จำนวนธารน้ำแข็งที่ละลายในช่วงเวลานี้ ถือเป็นปริมาณมากที่สุด ในหนึ่งปี มากที่สุดในรอบ 60 ปี

ธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ ทั้งหมดกำลังลดลง โดยเฉพาะธารน้ำแข็งใกล้เซนต์ โมริตซ์ เมืองสกีรีสอร์ทในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า  ธารน้ำแข็งลดลงวันละ 5 เซนติเมตร ซึ่งการที่ธารน้ำแข็งละลายได้สร้างความเสียหายให้แก่ธุรกิจท้องถิ่น

ทั้งนี้ ในช่วงเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมา คลื่นความร้อน เล่นคนผู้ในทวีปยุโรป จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และหลายๆประเทศในยุโรป มีอุณหภูมิ แตะถึง 40 องศาเซลเซียส และ หมู่บ่าน เซอร์มัต Zermatt ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลถึง 1,600 เมตร มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส

เทือกเขาแอลป์ อ่านเพิ่ม >>> ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ ละลายเร็ว ผลพวงจากภาวะโลกร้อน และ คลื่นความร้อน

ฝรั่งเศสจำใจการุณยฆาตวาฬเบลูกาติดแม่น้ำแซนนาน 1 สัปดาห์จนอ่อนแอ

เป็นข่าวที่น่าสลดสำหรับฝรั่งเศส ที่ต้องสูญเสียวาฬอีกหนึ่งตัว เพราะเมื่อวันพุธที่ 10 ส.ค. 2565 สัตวแพทย์ฝรั่งเศสตัดสินใจการุณยฆาตวาฬเบลูกาเพศผู้ตัวหนึ่งที่ดันพลัดหลงเข้ามาติดอยู่ในแม่น้ำแซน บริเวณเมืองนอเทรอดาม เดอ ลา-แกแรง ในแคว้นนอร์ม็องดี

วาฬตัวนี้เข้าไปติดอยู่ในแม่น้ำแซนมาได้เป็นเวลา 1 สัปดาห์แล้ว ซึ่งปกติแล้ว วาฬเหล่านี้สามารถอยู่อาศัยได้เฉพาะน้ำเค็มเท่านั้น การเข้ามาติดอยู่ในแม่น้ำจืดนาน ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องดีและเสี่ยงต่อชีวิตมาก ข่าวนี้สร้างความระทึกขวัญให้กับผู้คนอย่างมากว่าจะสามารถช่วยเหลือวาฬนี้ได้หรือไม่

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนสิงหาคม ครึ่งปีแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง? อ่านเพิ่ม >>> ยื้อไม่ไหว ฝรั่งเศสจำใจการุณยฆาตวาฬเบลูกา หลังติดในแม่น้ำแซนนาน 1 สัปดาห์

โลกร้อนคร่าช้างในเคนยามากกว่าการลักลอบล่าสัตว์ผิดกฎหมายถึง 20 เท่า

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้เคนยา ประเทศเล็ก ๆ ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาต้องต่อสู้กับความแห้งแล้งครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปีและกำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น วิกฤตดังกล่าวทำให้ช้างแอฟริกาเสียชีวิตลงมากกว่าการลักลอบล่าสัตว์ถึง 20 เท่า ตามการระบุจากเจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์ป่าและนักวิจัยในเคนยา

พวกเขาได้พบซากศพแห้ง ๆ ของช้างแอฟริกาในเขตอุทยานแห่งชาติซาโว (Tsavo) ซึ่งเป็นอุทยานที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่าจำนวนมากที่หลบหนีเข้ามาจากที่อื่น ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อค้นหาแหล่งน้ำแห่งใหม่

วิกฤตนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างน้อยก็ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ในปีที่แล้ว ช้างเสียชีวิตอย่างน้อย 79 ตัวจากความกระหายน้ำ ในขณะที่ปีนั้นเกิดการลักลอบล่าสัตว์ที่คร่าชีวิตช้างไปไม่ถึง 10 ตัว ซึ่งก็จะเริ่มเห็นแล้วว่า สิ่งใดอันตรายต่อชีวิตมากกว่ากันในทุกวันนี้ แม้ว่าสาเหตุการตายทั้ง 2 จบลงที่การสูญเสียอยู่ดีและไม่ควรเกิดขึ้นเลย ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม แต่การเกิดวิกฤตแบบนี้ขึ้นนั้น แสดงให้เห็นว่า มันคือสัญญาณเตือนที่แดงของการเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว

อ่านเพิ่ม >>> 

โลกร้อนคร่าช้างในเคนยามากกว่าการลักลอบล่าสัตว์ผิดกฎหมายถึง 20 เท่า

นอร์เวย์สั่งการุณยฆาต เฟรยา วอลรัสผู้โด่งดังเพราะผู้คนไม่ปฏิบัติตามกฎ

มีเรื่องให้คิดได้หลายแง่สำหรับประเด็นนี้ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ ทางการนอร์เวย์ได้สั่งการุณยฆาต ‘เฟรยา (Freya)’ วอลรัสเพศเมียหนัก 1,300 ปอนด์ หลังเธอทำเรือล่มไปหลายลำในฤดูร้อนที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่อ้างถึงความปลอดภัยสาธารณะของผู้คนที่ไปมุงดูเธอ

เธอก็ได้ทำเรือของชาวบ้านล่มไปหลายลำ เพียงเพราะเธอพยายามขึ้นไปพักผ่อนบนเรือ เธอโด่งดังหลังจากที่มีการแชร์ภาพของเธอลงบนสื่อโซเชียลมีเดียและทำให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวต่างหลั่งไหลมาดูเธอนอนพักผ่อน

หลังจากภาพของเธอถูกเผยแพร่ออกไป ชาวนอรเวย์ก็แห่กันไปที่ชายฝั่งออสโลในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อดูเธอกิน นอน และพักผ่อน และผู้ชมบางคนก็ไม่ได้น่ารักเสมอไป พยายามเข้าใกล้เธอเพื่อถ่ายรูป มีการขว้างปาสิ่งของและพยายามว่ายน้ำใกล้ๆ เฟรยา จนนักวิทย์คาดว่าพฤติกรรมเหล่านั้นทำให้เธอเกิดความเครียด และเริ่มแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวใส่ผู้ชม เช่น การขู่

Cr.skynews อ่านเพิ่ม >>> นอร์เวย์สั่งการุณยฆาต เฟรยา วอลรัสผู้โด่งดังเพราะผู้คนไม่ปฏิบัติตามกฎ

คลื่นความร้อนในจีน ทำสิ่งปลูกสร้างโบราณ โผล่กลางทะเลสาบโผหยาง

สำนักข่าวซินหัวรายงาน เมื่อวันที่ 26 ส.ค. “เกาะลั่วซิงตุน” หรือ เกาะหินพันปี สถานที่ทางประวัติศาสตร์ในมณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน ปรากฏขึ้นมาจากทะเลสาบโผหยาง ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เนื่องจากคลื่นความร้อนรุนแรงในจีน ทำให้ระดับน้ำในทะเลสาบลดลง

ทะเลสาบโผหยางเข้าสู่ฤดูแล้งอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2022 ซึ่งเร็วที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 1951 โดยเร็วกว่าวันเริ่มต้นฤดูแล้งเฉลี่ยช่วงปี 2003-2021 อยู่ที่ 69 วัน หน่วยงานท้องถิ่นมณฑลเจียงซี ระบุว่าสภาพภัยแล้งที่เกิดจากอากาศร้อนและปริมาณหยาดน้ำฟ้าต่ำอย่างต่อเนื่องช่วงหลังมานี้ ทำให้น้ำในทะเลสาบลดลงร้อยละ 75 เผยให้เห็นเกาะลั่วซิงตุน ซึ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อระดับน้ำลดลงเท่านั้น

เกาะลั่วซิงตุน อ่านเพิ่ม >>> คลื่นความร้อนในจีน ทำสิ่งปลูกสร้างโบราณ โผล่กลางทะเลสาบโผหยาง

ปลาตายเกลื่อนแม่น้ำโปแลนด์ คาด สาหร่ายสีทองทำพิษ

แอนนา มอสควา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโปแลนด์ เปิดเผยว่าแม่น้ำโอเดอร์ (Oder River) ซึ่งได้รับผลกระทบจากการตายของปลาจำนวนมากนับตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม อาจปนเปื้อนจุลินทรีย์ชนิดหายากที่เรียกว่า "สาหร่ายสีทอง" (Golden Algae)

มอสควา ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวแห่งชาติโปแลนด์ว่า มีการตรวจพบสาหร่ายสีทอง ซึ่งเป็นสาหร่าย "สายพันธุ์หายากและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก" ในตัวอย่างน้ำจากแม่น้ำโอเดอร์ เมื่อไม่นานนี้ และผลการศึกษาล่าสุดพบการเจริญเติบโตของสาหร่ายชนิดนี้ในแม่น้ำโอเดอร์

ภัยแล้งที่เกิดอย่างต่อเนื่องและระดับน้ำที่ลดต่ำอาจทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตและผลิตสารพิษที่ทำให้ปลาและหอยแมลงภู่ตาย แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ทั้งนี้ โปแลนด์พบปลาตายมากกว่า 100 ตัน ในแม่น้ำโอเดอร์ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายยาวอันดับสองของประเทศ นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ขณะสำนักข่าวฯ รายงานว่าวิธีที่สาหร่ายสีทองเข้าสู่แม่น้ำนั้นยังคงเป็นปริศนา

อ่านเพิ่ม >>>โปแลนด์เผย สาหร่ายสีทอง อาจเป็นต้นเหตุปลาตายเกลื่อนแม่น้ำ

น้ำท่วมปากีสถานหนักสุดเป็นประวัติการณ์ กระทบ 33 ล้านคน

สำนักงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติปากีสถาน (NDMA) ระบุว่า นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2022  มีผู้เสียชีวิตจากเหตุฝนตกและน้ำท่วมปากีสถานแล้ว 937 ศพ สร้างความเสียหายแก่ถนนหนทางเป็นระยะทางรวมกว่า 3,000 กม. สะพาน 130 แห่ง และบ้านเรือนอีก 495,000 หลัง นั่นเป็นอีกหนึ่งกระจกสะท้อนตัวเลขว่า มีประชาการราวๆ 33 ล้านคนที่เดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วมต่อเนื่องและรุนแรง

นางเชอร์รี เรห์มาน รัฐมนตรีกระทรวงความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของปากีสถาน  ให้ความเห็นว่า  เหตุน้ำท่วมปากีสถาน รุนแรงขนาดนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ประเทศ น้ำท่วมรุนแรง เป็นหายนะทางมนุษยธรรมครั้งใหญ่ที่สุดในทศวรรษนี้  ปากีสถานกำลังเผชิญมรสุมรอบที่ 8 ในขณะที่ปกติประเทศนี้จะเจอมรสุมเพียง 3 ถึง 4 รอบเท่านั้น และทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันสืบเนื่องเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

น้ำล้นเขื่อนในปากีสถาน อ่านเพิ่ม >>> น้ำท่วมปากีสถานรุนแรง ส่งผลกระทบประชาชน 33 ล้านคน ฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย 784%

เกิดไฟป่าแอมะซอน 3,358 จุดในวันเดียว ทำสถิติตัวเลขสูงสุด ในรอบ 15 ปี

ไฟป่า ที่เกิดขึ้นใน ป่าแอมะซอน Amazon ในประเทศบราซิล จำนวนมากกว่า 3,300 จุด ภายในวันเดียวนั้น เกิดขึ้นและมีบันทึกเมื่อ 22 สิงหาคม 2022 ที่ผ่านมา โดยสถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติบราซิล หรือ INPE  (National Institute for Space Research) ระบุว่า ดาวเทียมสังเกตการณ์ ตรวจพบไฟป่า 3,358 จุด ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2007 ที่มีการบันทึกสถิติอย่างเป็นทางการมา

ตัวเลขที่น่าตกใจนี้ ถือได้ว่า เป็นสถิติไฟป่า ในป่าแอมะซอน Amazon  ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากที่บันทึกได้ในวันที่เรียกว่า "Day of Fire" หรือ “วันแห่งไฟ” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2019 ซึ่งเป็นปีที่เกษตรกรเริ่มแผนการร่วมกันเผาป่าแอมะซอน Amazon  จำนวนมหาศาลในรัฐพารา Para ภาคเหนือของประเทศ 

จากเหตุการณ์ในวันนั้น วันที่ไฟป่าไหม้อย่างรุนแรงและเกิดขึ้นหลายจุด ทำให้เกิดกลุ่มควันสีเทาหนาทึบลอยปกคลุมไปยังรัฐเซาเปาโล ที่อยู่ห่างไกลออกไป 2,500 กิโลเมตร และทำให้เกิดความไม่พอใจไปทั่วโลกจากภาพการเผาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

อ่านเพิ่ม >>> เกิดไฟป่าแอมะซอน 3,358 จุดในวันเดียว ทำสถิติตัวเลขสูงสุด ในรอบ 15 ปี

related