svasdssvasds

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ สำหรับปี 2022 มีทั้งดีและร้ายปะปนกันไป แม้สำหรับสิ่งแวดล้อม จะมีแต่ข่าวร้ายซะส่วนใหญ่ งั้นเรามาลองสำรวจดูหน่อยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?

ปี 2022 เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ทั้งดีและร้ายปะปนกันไป เรื่องสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องที่มาแรงของปีนี้เช่นเดียวกัน ปี 2022 มีข่าวสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นทั่วโลกมากมาย ตั้งแต่ สัตว์ตายและเสี่ยงสูญพันธุ์จำนวนมากขึ้น ภัยพิบัติ สภาพอากาศรุนแรงเกิดถี่ขึ้น นโยบายใหม่ ๆ ด้านกฎหมายก็ออกมาเต็มไหมด และเรื่องราวของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีความก้าวหน้าของมนุษย์ก็เติบโตมากเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ เป็นวาระที่ดีที่ Springnews ในคอลัมน์ Keep The World จึงอยากขอส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ด้วยการรวมข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกที่เกิดขึ้นภายในปีนี้ ว่าโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้าง? ด้วยหมวดข่าวที่ถูกจัดสรรมาทั้งสิ้น 5 หมวด ประกอบด้วย หมวดสัตว์ สภาพอากาศ อีเวนต์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกติกาใหม่ของโลก ในแต่ละหมวดมีข่าวเด่น ๆ อะไรบ้างนั้น ไปดู

หมวดสัตว์

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

เพนกวินตายเกยตื้น 500 ตัว บนหาดนิวซีแลนด์

มีรายงานพบเพนกวินพันธุ์ที่เล็กที่สุดในโลกอย่าง kororā ถูกพัดเกยตื้นที่ชายหาดทั่วนิวซีแลนด์กว่า 500 ตัวแล้วภายใน 2-3 เดือน ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม

นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ได้สังเกตจากซากที่เหลืออยู่ของพวกมันและพบว่า เพนกวินที่ตายส่วนใหญ่มีน้ำหนักน้อยมากอย่างเห็นได้ชัด ตามปกติแล้วเพนกวินควรมีน้ำหนักระห่าง 0.8 ถึง 1 กิโลกรัมเป็นอย่างต่ำ แต่บางตัวกับมีน้ำหนักน้อยกว่าตัวเลขดังกล่าวถึงครึ่งหนึ่ง

ดังนั้นจึงถูกคาดการณ์ว่า “พวกมันไม่มีไขมันในร่างกายเลย และแทบจะไม่มีกล้ามเนื้อเลยด้วยซ้ำ ร่ายกายของพวกมันอยู่ในระยะที่ผอมแห้งมาก ๆ จนพวกมันไม่สามารถดำน้ำได้ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้พวกมันอดอาหารหรือตายจากภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ เพราะพวกมันไม่มีขั้นไขมันปกคลุมร่างกาย”

อ่านเพิ่มเติม >>> เพนกวินน้อยตายเกยหาดนิวซีแลนด์กว่า 500 ตัวภายใน 2-3 เดือน เกิดอะไรขึ้น?

วาฬที่มีอายุมากที่สุดในโลกถูกโค่น

อาจจะเป็นเรื่องเศร้าสำหรับคนรักสัตว์ ที่วาฬเป็นอีกหนึ่งสิ่งมีชีวิตที่ยังคงถูกล่าอยู่ในปัจจุบัน เรื่องราวนี้เป็นของ วาฬหัวคันศร หรือ วาฬโบว์เฮด (Bowhead whale) ขนาดยักษ์ถูกจับได้นอกชายฝั่งอะแลสกา ผู้ล่าพบฉมวกเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยระเบิดฝังอยู่ที่คอของมัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามันรอดชีวิตจากการล่ามาได้นานเกินกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การตรวจสอบฉมวกเก่าแก่ที่พบในวาฬหัวคันศรจากนักวิทยาศาสตร์ แม้ว่ามันจะถูกล่ามานานแล้ว ตั้งแต่ในปี 2007

แม้ว่าอุปกรณ์ระเบิดจะมีความรุนแรง แต่วาฬตัวดังกล่าวก็ยังคงปลอดภัยดีเรื่อยมา ซึ่งคาดว่าเพราะความหนาของชั้นผิวหนังของมันหนา 1 ฟุต และกระดูกที่หนาอีก 1 ฟุต ทำให้ระเบิดไม่ทำงาน

อ่านเพิ่มเติม >>> วาฬอายุมากที่สุดในโลก ถูกพบเพราะเจอฉมวกอายุ 120 ปีฝังที่คอ

 

วาฬนำร่องตายเกยหาด 1,000ตัวภายใน 1 เดือน

มันเกิดอะไรขึ้นกับวาฬนำร่อง ทำไมพวกมันจึงเกยตื้นตายอีกแล้ว...เพราะ ในช่วงเวลา 1 เดือน มีปรากฏการณ์ที่เห็นๆชัดๆ ว่า พวกมันต้องมาจบชีวิต ด้วยการเกยตื้นตาย จำนวนมหาศาล นับรวมๆแล้ว เกือบ 1,000 ตัว  โดยล่าสุดเพิ่งมีเหตุการณ์ วาฬนำร่องมากกว่า 400 ตัว เกยตื้นตายบนชายหาด 2 แห่ง ของนิวซีแลนด์

เวลานี้ ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญฟันธงว่า เหตุการณ์วาฬเกยตื้นตาย 2 ครั้งติดๆกันในรอบหนึ่งเดือน เกิดจากอะไร 

แต่เคยมีข้อ สันนิษฐานสาเหตุฝูงวาฬเกยตื้น สาเหตุหลักๆ มาจากตัววาฬเอง อาจเป็นเพราะวาฬนำร่องเป็นสัตว์สังคม มีความสัมพันธ์ในฝูงที่เหนียวแน่นมาก แปลว่าหากมีวาฬตัวหนึ่งบาดเจ็บหรือไม่สบาย จนว่ายน้ำผิดทิศผิดทางและไปเกยตื้น สมาชิกของฝูงที่เหลือก็จะว่ายตามกันมาและถูกคลื่นซัดจนเกยตื้นในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >>> วาฬนำร่อง เกือบ 1,000 เกยตื้นตายในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ในรอบ 1 เดือน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

อัน อัน แพนด้าเพศผู้ที่มีอายุมากที่สุดในโลกตาย

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเหตุการณ์สุดเศร้า เมื่อ "อันอัน" แพนด้ายักษ์เพศผู้อายุมากที่สุดในโลกที่ถูกเลี้ยงไว้ในกรงในสวนสัตว์ Ocean Park ในฮ่องกง ตายแล้วด้วยอายุ 35 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับมนุษย์อายุ 105 ปี โดยการอำลาจากโลกนี้ไปครั้งนี้ เป็นการตัดสินใจ ทำการุณยฆาต จากผู้ดูแล

สำหรับ อันอัน (An An)  เป็น แพนด้ายักษ์เพศผู้ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสวนสนุก Ocean Park โอเชียนปาร์กของฮ่องกง  ซึ่ง เจ้าอันอัน นั้น ถือเป็นของขวัญของรัฐบาลจีน ที่มอบให้กับฮ่องกง เมื่อปี 1999 โดย ณ ช่วงเวลานั้น รัฐบาลจีนส่ง แพนด้ายักษ์เพศเมีย ที่ชื่อว่า เจีย เจีย Jia Jia มาด้วยพร้อมๆกัน

อย่างไรก็ตาม แพนด้า เจีย เจีย Jia Jia แพนด้าเพศเมีย เสียชีวิตไปแล้วก่อนหน้า ในปี 2016 ขณะที่ มีอายุ 38 ปี และถือเป็นแพนด้าเพศเมียที่อายุมากที่สุดในโลกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >>> อันอัน แพนด้าเพศผู้อายุมากสุดในโลก ตายแล้ว อายุ 35 ปี เทียบเท่ามนุษย์ 105 ปี

เฟรยา วอลรัสนอร์เวย์ถูกการุณยฆาต

ทางการนอร์เวย์ได้สั่งการุณยฆาต ‘เฟรยา (Freya)’ วอลรัสเพศเมียหนัก 1,300 ปอนด์ หลังเธอทำเรือล่มไปหลายลำในฤดูร้อนที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่อ้างถึงความปลอดภัยสาธารณะของผู้คนที่ไปมุงดูเธอ

เฟรยา เป็นวอลรัสเพศเมียที่โด่งดังในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา หลังเธอเป็นวอลรัสผู้โดดเดี่ยว ห่างไกลจากบ้านเกิดอย่างอาร์กติกถึง 1,200 ไมล์ และเธอก็ได้ทำเรือของชาวบ้านล่มไปหลายลำ เพียงเพราะเธอพยายามขึ้นไปพักผ่อนบนเรือ เธอโด่งดังหลังจากที่มีการแชร์ภาพของเธอลงบนสื่อโซเชียลมีเดียและทำให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวต่างหลั่งไหลมาดูเธอนอนพักผ่อน

แต่อนิจจา เมื่อหลายเดือนก่อน เฟรยาเดินทางไปตามชายฝั่งของประเทศ ทำลายเรือต่าง ๆ เพื่อปีนป่ายขึ้นไปพักผ่อนบนเรือ เพราะตั้งแต่ผู้คนแห่แหนมาชมเฟรยา ก็เริ่มมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารักทั้งคนและสัตว์ ดังนั้น ทางการจึงประกาศการุณยฆาตเฟรยา และนั่นทำให้คนรักสัตว์ไม่พอใจอย่างยิ่ง

อ่านเพิ่มเติม >>> นอร์เวย์สั่งการุณยฆาต เฟรยา วอลรัสผู้โด่งดังเพราะผู้คนไม่ปฏิบัติตามกฎ

หมวดสภาพอากาศ

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

พายุโนรูและนันมาดอลพัดถล่มเอเชีย

พายุโนรู เป็นพายุเขตร้อนที่พัดผ่านประเทศไทย บริเวณภาคอีสานตอนบน ภาคกลางและภาคเหนือ ทำหลายพื้นที่ประสบกับน้ำท่วมฉับพลัน แต่ที่ใหย่ไปกว่านั้น คือ นันมาดอล พายุไต้ฝุ่นขนาดไหญ่ที่พัดผ่านหลายประเทศ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พายุนี้ด้วย

อ่านเพิ่มเติม >>>

นันมาดอลโหดขั้นสุด! ญี่ปุ่นสั่งอพยพกว่า 9 ล้านคน หนีภัยธรรมชาติ

รวมภาพความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นนันมาดอล พัดขึ้นฝั่งคิวชูวันนี้

ลาวตอนใต้เจอน้ำท่วมจาก ‘พายุโนรู’ น้ำ-ไฟถูกตัด ถนนเสียหาย

ปภ. ย้ำเตือน 17 จังหวัด อาจน้ำท่วมฉับพลันจากอิทธิพลพายุโนรู

น้ำท่วมปากีสถาน คนเสียชีวิตเกิน 1,000 ราย

ปากีสถานกำลังอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ หลังเผชิญกับอุทกภัยหนักทั่วประเทศ ทำเขื่อนขนาดเล็กแตกไปกว่า 40 แห่งและผู้คนเสียชีวิตไปมากกว่า 1,000 คน ถนนถูกตัดขาดหลายพันกิโลเมตร แม้ว่าสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ๆ จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือแล้ว แต่ก็ยังไม่มีเพียงพอ จำเป็นต้องมีเงินทุนมากกว่านี้

ภัยครั้งใหญ่นี้ได้เริ่มขึ้น ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ในขณะที่ปากีสถานเผชิญหน้ากับพิษเศรษฐกิจ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ผู้คนหลายพันคนหนีออกจากบ้านอย่างเร่งรีบ หลังเขื่อนกั้นแม่น้ำในจังหวัดไคเบอร์ ปากตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa province) พังทายลงทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

อ่านเพิ่มเติม >>> น้ำท่วมปากีสถาน เสียชีวิตเกินพันราย วอนชาวโลกช่วยเหลือ

น้ำท่วมปากีสถาน พื้นที่ 1 ใน 3 จม เทียบพื้นที่ 25 จังหวัดใหญ่ที่สุดไทยรวมกัน

คลื่นความร้อนรุนแรงหลายประเทศ ทำคนเสียชีวิตเกิน 500 ราย

ปีนี้หลายประเทศมากกว่า /0 ประเทศเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ จนต้องประกาศเตือนภัยระดับสีแดงกันระนาว ซึ่งคลื่นความร้อนในปีนี้ได้คร่าชีวิตผู้ไปมากกว่า 1,000 คนแล้ว ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนเกิดไฟป่าและปัญหาสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม >>>

จีนเผชิญ คลื่นความร้อนภูมิภาค รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1961

WHO วอน ช่วยกันแก้ภาวะโลกร้อน หลังคลื่นความร้อนทำคนตาย เกิน 1,700 คน

อิตาลี โปแลนด์ สโลวีเนีย กรีซ เจอพิษคลื่นความร้อนเล่นงาน เกิดไฟป่าลาม

สหราชอาณาจักร เตือน 'อากาศร้อนจัด' ระดับสีแดงเป็นครั้งแรก

ภัยแล้งรุนแรง จนทำให้ซอสพริกศรีราชาขาดแคลนในสหรัฐฯ

เป็นที่ฮือฮา หลังซอสพริกศรีราชาประกาศ ซอสจะหยุดผลิตไปก่อนแบบไม่มีกำหนด เนื่องจากขาดแคลนพริกจากวิกฤตภัยแล้ง ทำให้แฟน ๆ ออกมาโต้เถียงและเริ่มมีการกักตุนสินค้าบ้างแล้ว

Huy Fong Foods เป็นผู้ผลิตซอสศรีราชารายใหญ่ที่สุดในโลกในตลาดซอสร้อนเอเชีย ตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนีย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทได้แจ้งให้ลูกค้ารายย่อยทราบว่ากำลังหยุดผลิตซอส การแจ้งเตือนนี้กลายเป็นการแพร่กระจายข่าวสารสู่วงกว้างมากขึ้น ทั้งสร้างความตระหนกและความโกลาหล

ปัญหาการขาดแคลนพริกนั้นกำลังรุนแรง อันเนื่องมาจากสภาพอากาศ บริษัทได้จัดหาพริกจากฟาร์มต่าง ๆ ในแคลิฟอร์เนีย นิวเม็กซิโก และเม็กซิโก แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรงทำให้คุณภาพของพริกไม่ดีและทำให้ขาดแคลนพริก

อ่านเพิ่มเติม >>> ซอสพริกศรีราชาขาดตลาดในสหรัฐฯเนื่องจากภัยแล้ง

พายุหิมะกระหน่ำส่งท้ายปีในสหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก

ช่วงส่งท้ายปีนี้ ทางทวีปอเมริกาเหนือ ทั้ง สหรัฐฯ,แคนาดา รวมถึงบางส่วนของประเทศเม็กซิโก กำลังเจอกับวิกฤตสภาพอากาศ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  โดยเหตุของวิกฤตของสภาพอากาศครั้งนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่แล้ว และมันมีเอฟเฟกต์ต่อเนื่องมาจนถึง ณ เวลานี้ และอาจจะยืดเยื้อไปจนถึงต้นปี 2023 เลยทีเดียว

โดยในช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา มีพายุหิมะ พายุฤดูหนาวรุนแรงพัดถล่มพื้นที่ทั่วสหรัฐฯ และแคนาดา และความรุนแรงของการแปรปวนทางสภาพอากาศ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเกือบ 250 ล้านคน  และตอนนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 50 ราย

อ่านเพิ่มเติม >>> เหตุการณ์ บอมบ์ไซโคลน - โลกรวน ทำให้สหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโกเจอวิกฤตสภาพอากาศ

หมวดอีเวนต์

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง TGAT 2022 เมนูใดทำโลกร้อนน้อยที่สุด?

งงเลยทีนี้ ตอบข้อไหนดี? จู่ ๆ ก็เป็นไวรัลขึ้นมาเฉย หลัง #dek66 เข้าสอบวัดระดับ TGAT กันไปเมื่อวันที่ 10 ธันวามคมที่ผ่านมา และก็ได้มีการนำคำถามหนึ่งจากข้อสอบออกจากห้องสอบมาด้วย โดยคำถามมีอยู่ว่า

เมนูใดต่อไปนี้ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจะและภาวะโลกร้อนมากที่สุด

  1. ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย
  2. ราดหน้าหมู
  3. สเต็กปลาแซลมอน
  4. สุกี้ทะเลรวมมิตร

แล้วเมนูไหนช่วยโลกได้ ดูเฉลยได้ที่ >>> เฉลย! เมนูใดทำโลกร้อนน้อยสุด? คำถาม TGAT 2022 สุดปวดหัว ตอบข้อไหนดีนะ?

COP27 ประชุมแก้โลกร้อน ณ อียิปต์

COP27 หรือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 ที่จัดขึ้น ณ เมืองชาร์ม เอล ชีค (Sharm el-Sheikh) ซึ่งเป็นเมืองของอียิปต์ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรซีนาย (Sinia) ในวันที่ 6-18 พ.ย. 2565 ที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 12 วัน

ในช่วงเวลา 12 วันที่ผ่านมา ผู้นำและตัวแทนแต่ละประเทศทั่วโลก ได้ออกมานำเสนอนโยบายของประเทศตนเองว่ามีนโยบายหรือโครงการอะไรบ้างที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น

เราได้อะไรจากการประชุมในครั้งนี้ อ่านเพิ่มเติม >>> สรุปข้อตกลงใน COP27 เราได้อะไรใหม่จากการประชุมครั้งนี้บ้าง?

APEC ไทยเป็นเจ้าภาพ หลายบริษัทหนุนรัฐสร้างความยั่งยืน

การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคของไทย ระหว่างวันที่ 17-18 พ.ย.2565 ภายใต้หัวข้อหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” เพื่อเปิดกว้างสู่ทุกโอกาสด้านการค้าและการลงทุน

ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG) มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพการประชุม เอเปคในครั้งนี้

อ่านเพิ่มเติม >>> เอเปค 2565 (APEC) กับการผลักดันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

COP15 การประชุมแก้ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ

COP15 เป็นการประชุมหารือเพื่อบรรลุข้อตกลงว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีจีนและแคนาดาเป็นเจ้าภาพ

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 190 ประเทศได้เห็นพ้องในการสนับสนุนข้อตกลงฉบับนี้ โดยจะต้องใช้มาตรการแบบ 30x30  นั่นคือการปกป้องมหาสมุทร ผืนดินและพันธุ์สัตว์ให้ได้ 30% ทั้งหมด

โลกมีประชากรแตะ 8,000 ล้านคนแล้ว

สหประชาชาติ หรือยูเอ็น เผยแพร่รายงานที่ประเมินว่า ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 8 พันล้านคน ในวันที่ 15 พ.ย. และระบุว่า การเติบโตของจำนวนประชากรอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเป็นผลมาจากอายุขัยมนุษย์เพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากการพัฒนาด้านสาธารณสุข โภชนาการ สุขอนามัยส่วนบุคคล และการแพทย์ รวมถึง การเจริญพันธุ์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางประเทศ

การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็วท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จะยิ่งทำให้เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ และความขัดแย้งมากขึ้นในช่วงหลายสิบปีข้างหน้าและเมื่อทรัพยากรอย่าง น้ำ อาหาร หรือ น้ำมันเบนซิน ไม่อาจเพิ่มขึ้นได้ทันการเติบโตของประชากรโลก จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ทรัพยากร

อ่านเพิ่มเติม >>>

ประชากรโลกครบ 8 พันล้านคนแล้ว UN ชี้เสี่ยงวิกฤตทรัพยากรขาดแคลน

ประชากรโลกครบ 8,000 ล้าน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เปลืองทรัพยากรอย่างไรบ้าง

หมวดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

นักวิทย์คืนชีพ ‘ไวรัสซอมบี้’ อาจโผล่มากขึ้นเพราะโลกร้อน

หลังจากน้ำแข็งเริ่มละลายเพราะภาวะโลกร้อน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบกับ “ไวรัสซอมบี้” จำนวนหนึ่งในไซบีเรีย จากการประเมินพบว่า มันมีอายุอยู่ใต้น้ำแข็งมาแล้วประมาณ 50,000 ปี และมีความสามารถในการแพร่เชื้อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้ด้วย ไวรัสตัวนี้ ถูกพบโดยนักจุลชีววิทยา Jean-Marie Alempic จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นนักจุลชีววิทยาที่ค้นพบไวรัสอีกหลายตัวใต้น้ำแข็งก่อนหน้านี้

ผู้ศึกษาวิจัยกล่าวว่า การศึกษาพวกมันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่ว่าเราจะสามารถประเมินประสิทธิภาพของพวกมันได้ว่า เชื้อไวรัสเหล่านี้อันตรายมากแค่ไหน ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่เราต้องศึกษาพวกมัน เพื่อให้เราสามารถคิดค้นและพัฒนายาต้านไวรัส หรือหาทางป้องกัน หากเชื้อไวรัสเหล่านี้เกิดการแพร่ระบาด

อ่านเพิ่มเติม >>> นักวิทย์ คืนชีพ "ไวรัสซอมบี้" อายุ 50,000 ปีที่ถูกพบในไซบีเรีย

พบจุลชีพใหม่เกือบ 1,000 ชนิด ใต้ธารน้ำแข็งทิเบต

นักวิทยาศาสตร์รายงานว่า มีการพบจุลชีพนับพันชนิดใต้ธารน้ำแข็งที่ทิเบต ป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยสำหรับจุลชีพปริมาณเยอะบนพื้นที่ที่สภาพอากาศรุนแรงเช่นนี้ อุณหภูมิที่เย็นจัด ระดับของดวงอาทิตย์ที่อยู่ในระดับสูง รวมไปถึงช่วงฤดูกาลที่มันจะถูกแช่แข็งหรือละลายเป็นประจำตามช่วงเวลาของทุกปี จึงเป็นที่น่าสนใจว่ามีสปีชีส์ 968 อาศัยอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบนี้ได้อย่างไร

นักวิทย์พบว่า พื้นผิวของธารน้ำแข็งเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อ มีตั้งแต่ สาหร่าย แบคทีเรีย อาร์เคีย เชื้อรา และไมโครยูคาริโอตอื่น ๆ จุลชีพเหล่านี้แสดงให้เราเห็นว่าพวกมันมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่รุนแรงและหลากหลาย และนำเราไปสู่กระบวนการทางนิเวศวิทยาที่สำคัญ

อ่านเพิ่มเติม >>> พบจุลชีพชนิดใหม่เกือบ 1000 ชนิดใต้ธารน้ำแข็งทิเบต

แบตเตอร์รี่ทำจากทรายครั้งแรกของโลก

เริ่มเปิดใช้งานแล้ว สำหรับนวัตกรรมใหม่จากฟินแลนด์ ‘แบตเตอรี่พลังงานทราย’ ใช้พลังงานงานความร้อนจากทรายเพื่อก่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ต้องอาศัยช่วงเวลาตามฤดูกาลเหมือนพลังงานอื่น ๆ

Vatajankoski คือระบบกักเก็บพลังงานความร้อนที่สร้างขึ้นรอบ ๆ ถังเหล็กหุ้มฉนวนขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 4 เมตรและสูง 7 เมตร ซึ่งภายในก็เต็มไปด้วยทรายธรรมนี่แหละ เมื่อทรายถูกทำให้ร้อนโดยใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบธรรมดาที่ฝังอยู่ตรงกลางของอุปกรณ์นี้ อุปกรณ์ตัวนี้ก็จะสามารถเก็บพลังงานได้ 8 เมกะวัตต์/ชั่วโมง โดยที่ทรายจะถูกทำให้ร้อนประมาณ 500-600 องศาเซลเซียส กำลังพอดี

อ่านเพิ่มเติม >>>

ทางเลือกใหม่ ฟินแลนด์ประดิษฐ์แบตเตอรี่พลังงานทรายเครื่องแรกของโลก

“แบตเตอรี่ทราย” ทรัพยากรธรรมชาติกู้โลก ราคาถูก เก็บพลังงานได้นานหลายเดือน

THE LINE เมืองแนวตั้งไร้คาร์บอนในซาอุดิอาระเบีย

THE LINE เมืองที่ไม่มีถนน รถยนต์ หรือการปล่อยมลพิษ และหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน 100% แถมใช้พื้นที่น้อยและการใช้สอยที่ต่างจากเมืองดั้งเดิมทั่วไป ด้วยอัตลักษณ์ที่พิเศษที่สุดคือการออกแบบเมืองที่ทอดยาวไปโดยใช้พื้นที่เพียง 34 ตารางกิโลเมตร

THE LINE เป็นเมืองที่มีความกว้างเพียง 200 เมตร แต่ยาวถึง 170 กิโลเมตร และสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร สูงกว่าหอไอเฟลเลยแหละ รองรับผู้คนได้ 9 ล้านคน เมืองแห่งนี้จะสร้างประสิทธิภาพความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมที่น่ามหัศจรรย์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

อ่านเพิ่มเติม >>> THE LINE เมืองแนวตั้งแห่งใหม่ของซาอุฯ คาร์บอนเป็น 0 ไร้รถ ไร้ถนน

นาซา เตรียมแผนก่อสร้างบนดวงจันทร์ โลกที่ 2 ของมนุษย์?

สะเทือนวงการอวกาศอีกแล้ว เพราะเมื่อไม่นานมานี้ องค์การนาซ่า (NASA) ได้ออกมาประกาศการมอบรางวัลถึงโครงการนำร่องพัฒนาระบบก่อสร้างบนดวงจันทร์ ให้กับ ICON ผู้นำด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างขั้นสูงและการพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ ที่ได้ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมาว่า

บริษัทได้รับสัญญาภายใต้โครงการ Small Business Innovation Research (SBIR) ของ NASA ระยะที่ 3 สัญญามูลค่าเกือบ 60 ล้านดอลลาร์ หรือราว ๆ 2 พันล้านบาท ที่สร้างขึ้นจากการระดมทุนของ NASA และกระทรวงกลาโหมก่อนหน้านี้สำหรับโครงการ Olympus ของ ICON

ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ให้กลายเป็นระบบการก่อสร้างอเนกประสงค์ โดยหลักแล้วใช้ทรัพยากรบนดวงจันทร์และดาวอังคารดั้งเดิมเป็นวัสดุก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมความพยายามของ NASA รวมถึงองค์กรการค้าในการสร้างการมีอยู่บนดวงจัทน์อย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม >>> นาซา ให้ ICON 2 พันล้านบาท หลังสามารถพัฒนาระบบก่อสร้างบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ

หมวกกติกาใหม่ของโลก

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมทั่วโลกประจำปี 2022 ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง นักวิทย์วางแผน เก็บ ‘ภาษีเนื้อ’ เพื่อดลการปล่อยก๊าซ

เพื่อลดการปล่อยมลพิษ ชะลอความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงเพื่อให้ประชากรมีอาหารได้บริโภคอย่างปลอดภัยต่อไป จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์และผลผลิตจากสัตว์ด้วย

ดังนั้นจึงการมีแนวคิดจากนักวิทย์และนักเศรษฐศาสตร์ว่า ผลลัพธ์ของเรื่องนี้ที่น่าเป็นไปได้มากที่สุดคือ การเก็บภาษีโดยตรง สำหรับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Meat Tax) งานวิจัยล่าสุดที่ได้ตีพิมพ์ลงในบทวิจารณ์เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเนื้อสัตว์

อ่านเพิ่มเติม >>> จะเป็นอย่างไร ถ้ามีการเก็บภาษีเนื้อ ราคาอาหารสูงขึ้น เพื่อลดโลกร้อน

นิวซีแลนด์เล็งเก็บภาษีผายลม จากวัวและแกะ

นิวซีแลนด์ กำลังจะเป็นประเทศแรกของโลก ที่บังคับให้เกษตรกรจ่ายค่าภาษี มลพิษจากปศุสัตว์ หลังจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้เผยแพร่ร่างมาตรการกำหนดค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษทางการเกษตรของฝูงแกะ วัว ซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

อ่านเพิ่มเติม >>> นิวซีแลนด์จ่อเก็บภาษีปล่อยก๊าซมีเทนจากวัว แกะ หวังลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

EU สั่งห้ามนำเข้า 7 กลุ่มสินค้าที่อาจมาจากการตัดไม้

สินค้าเหล่านี้ เป็นตัวการทำให้โลกร้อน เลิกนำเข้าเดี๋ยวนี้! กฎหมายใหม่จากอียู แถมยังเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ห้ามนำเข้าสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า ไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ตาม และจะเร่มบังคับใช้กลางปี 2566 แล้ว

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ออกมาเผยความคืบหน้าการยกร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-free product) ของสหภาพยุโรป (อียู)

จากการหารือและประชุมในครั้งนี้ ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นแล้วในการจะสั่งห้ามสินค้า 7 กลุ่มเข้าอียู เพราะเสี่ยงที่จะมีส่วนในการตัดไม้ทำลายป่า เพราะทั่วโลกเริ่มแบนการใช้ทรัพยากรหรือสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยสินค้าทั้ง 7 กลุ่มจะมีดังนี้  อ่านต่อ >>> เช็กลิสต์! 7 กลุ่มสินค้าทำร้ายโลก จ่อห้ามนำเข้าอียู เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 66

จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศเปราะบางรับมือโลกร้อน จากเวที COP27

จากการประชุมของ COP27 เราได้ข้อกำหนดออกมาว่าจะมีการจัดตั้งกองทุน Loss and Damage ประเทศร่ำรวยจะต้องให้เงินทุนและการช่วยเหลือแก่ประเทศเปราะบางเพิ่มขึ้น 2 เท่า เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นสามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้ได้ภายในปี 2030

แต่กองทุนนี้ยังต้องจับตาดูต่อไป เพราะเคยมีการก่อตั้งกองทุนมาแล้ว แต่ไม่สำเร็จสักที อย่างหลายปีก่อน มีสัญญาจากประเทศร่ำรวยว่าจะช่วยเหลือประเทศยากจน 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี แต่เงินที่ได้นั้น แม้กระทั่งตอนนี้ยังมีเพียงน้อยนิด และเงินหลายส่วนก็ไม่ได้เป็นเงินให้เปล่า แต่เป็นเงินที่กู้มาในดอกเบี้ยขั้นต่ำ

อ่านเพิ่มเติม >>>

สรุปข้อตกลงใน COP27 เราได้อะไรใหม่จากการประชุมครั้งนี้บ้าง?

เวที COP27 จะบังคับประเทศร่ำรวยช่วยเหลือประเทศยากจนอย่างไร?

ไทยเตรียมเก็บภาษีคาร์บอนสำหรับผู้ประกอบการ

ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เป็นภาษีที่เก็บจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (NO2) หรือก๊าซกลุ่มฟลูโอริเนต (F-Gases) ที่มีคุณสมบัติทำลายชั้นโอโซน เช่น ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เป็นต้น

ในต่างประเทศ การจัดเก็บภาษีคาร์บอนมีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ขณะที่ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เอเชีย และแอฟริกาบางประเทศเริ่มมีการนำภาษีคาร์บอนมาบังคับใช้เช่นกัน และไทยก้มีแนวทางที่จะเก็บภาษีคาร์บอนด้วยเช่นเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม >>> ภาษีคาร์บอนคืออะไร ทำความรู้จักมาตรการสิ่งแวดล้อม ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

related